วันอาทิตย์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2550

A073 กสิณไฟ















สิ่งที่พวกเราจะฝึกต่อไปนี้ คือ ใช้การเพ่งอารมณ์ เพ่งจิต
เพ่งความรับรู้สึกนึกคิดทั้งปวงไปที่ดวงไฟ โดยมีคำบริกรรม
ที่หลวงปู่ผูกขึ้นมาง่ายๆ ว่า ตาเห็นไฟ ใจรู้ไฟ ตาเห็นไฟก็คือ
ตามองไฟ อย่ามองควันไฟ อย่ามองไส้ไฟมองสีเปลวของไฟ

จำนวน 1 แผ่น 

A072 วิธีสอนลูกให้ได้ดี















- พูดแล้วลูกไม่เชื่อฟัง
- เด็กก้าวร้าวแก้ไขอย่างไร
- สร้างแรงจูงใจเด็ก 5ถึง12 ปี
- จริงหรือสังคมทำให้ลูกเราเปลี่ยนไป
- เจ้าอารมณ์แก้ไขอย่างไร
- รร ทั่วไปสอนจริยธรรมน้อยลง
- ลูกเถียงเก่ง

จำนวน 1 แผ่น  

A071 ตั้งวงพิสูจน์กรรม กรรมตามทั้นจริงหรือ















มาร่วมกันฟังเรื่องราวของกรรม ระหว่างคนที่เชื่อว่ากรรมมีจริง
ทำแล้วให้ผลจริง กับคนที่ไม่เชื่อว่ากรรมมีจริง และทำกรรมแล้ว
ไม่มีผลใดๆ จึงเป็นที่มาของการตั้งวงพิสูจน์กรรมขึ้น โดยมีทั้ง
ฝ่ายที่มีประสบการณ์เห็นเอง และผู้อื่นเล่าให้ฟัง กับผู้ที่ได้รู้
และได้เห็น ประสบการณ์ทางวิญญาณด้วยตัวเอง ได้ทั้งสาระ
ทั้งผสมเรื่องราวต่างๆ และเสียงหัวเราะ ท่านจงตั้งใจฟังให้ดี
อย่าเผลอขาดสติ มิฉะนั้นจะพลาดตอนสำคัญ รับรองความมันส์


เรื่องนี้เป็น Audio ยังไม่ได้ทำเพราะมีเป็น MP3

A070 เจริญมนต์พระปริตร















1. ชุมนุมเทวดา
2. ที่มาของคำบูชา
3. สัมพุทธ เธ
4. นะโมการะอัฎฐะกะ
5. มังคะละสุตตัง
6. ระตะนะสุตตัง
7. กะระณียะเมตตะสุตตัง
8. ขันธะปะริตตะคาถา
9. ฉัททันตะปะริตตัง
10.โมระปะริตตัง
11.ธะชัคคะปะริตตัง
12.วัฏฏะกะปะริตตัง
13..ให้พร

จำนวน 2 แผ่น 

A069 พลังบุญ พลังจิต















บุญเป็นเหตุแห่งพลังในจิต พลังจิตเป็นผลแห่งบุญ
ทั้งจิตและบุญ ถ้อยทีถ้อยอาศัยซึ่งกัน และกัน

จำนวน 2 แผ่น 

A068 บุรุษผู้แข็งแรง















เป็นเรื่องราวแนวนิทานชาดก ของพระเจ้าพิมพิสาร กับพระราชโอรส พระนามว่า พระเจ้าอชาติศัตรู ทั้งสองท่านได้มีเรื่องราวเกี่ยวเนื่องกัน อีกทั้งความรู้เกี่ยวกับ ความรัก ความเชื่อ ความศรัทธา และสาระอีกมากมาย


จำนวน 3 แผ่น 

A067 บารมี 10 ทัศ















 บารมี 10 ทัศ ที่พระศาสดาสมัยยังทรงบำเพ็ญเป็นพระโพธิสัตว์อยู่นั้น มีอยู่ 10 อย่าง ทาน ศีล เนกขัมมะ ปัญญา วิริยะ ขันติ สัจจะ อธิษฐาน เมตตา อุเบกขา สิ่งที่เรากระทำ ตรงกับบารมีข้อไหนบ้าง


จำนวน 1 แผ่น 

A066 ตำนานความลับเทือกเขาภูพาน















เป็นเรื่องเล่าจากประสบการณ์ทางวิญญาณของหลวงปู่ ที่ได้เดินธุดงค์ไปทั่วสารทิศ และได้หลงเข้าไปในป่าทึบก็ได้ประสบเหตุการณ์ประหลาด มหัศจรรย์ ตื่นเต้น และลุ้นระทึก กับวิชาไสยศาสตร์ ที่คนโบราณได้ทำเอาไว้ ถ้าโลภ ก็คือ...ต้องตาย

จำนวน 3 แผ่น  

A065 อบรมพระวิปัสสนา วัดอ้อน้อย















1. ส่วนใดที่มหาสติปัฏฐาน เป็นโลกีย และโลกุตระ
2. ทำอย่างไรให้พระปฏิบัติ และฝึกตนเอง
3. หลับอย่างมีสติหลับอย่างไร
4. นอนไม่หลับคิดฟุ้งซ่าน จะเรียกว่าขาดสติหรืออะไร
5. วิตกวิจารณ์ในอารมณ์กัมมัฏฐาน กับความวิตกกังวล
6. สติ กับ วิตกและตรึกต่างกันอย่างไร
7. จิต กับใจต่างกันอย่างไร
8. ทำสมาธิ ก้มหน้า เงย รู้สึกมืดหน้า ร้อนที่ศรีษะ
9. อานาปานกับอิริยาบถบรรพ ต่างกันอย่างไร
10. การปฏิบัติธรรม โดยใช้ นะ มะ พะ ทะ

จำนวน 2 แผ่น    

A064 วิปัสสนาปัญญา















ถ้าเรามีอารมณ์วิปัสสนา ก็กล้าที่จะ ให้ชีวิตเราได้ ไม่มีเราในเรา แม้แต่ความทุกข์ ก็ไม่มีอยู่ในเรา สรรพสิ่งในโลกไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เป็นอารมณ์ชั้นสูง เรียกว่า อารมณ์วิปัสสนาภูมิ วิปัสสนารมย์

จำนวน 1 แผ่น  

A063 วิถีแห่งผู้กล้า















การอยู่ในที่ที่ลำบาก เพื่อให้สถานการณ์รอบข้างมันบีบคั้น และเป็นครูของเรา ให้กลายเป็นคนแกร่ง องอาจ และเข้มแข็ง ไม่ต้องเก่ง แต่เอาให้แกร่ง สัญลักษณ์ของลูกผู้ชายเอกบุรุษ นักสู้ วีรบุรุษของชาวบ้านและของตนเอง

จำนวน 1 แผ่น 

A062 นครกาย















เมื่อพระเจ้าจิตราช ไม่สนใจปกครองดูแลนครกายแห่งนี้ ขุนสติ และอำมาตย์ตงฉินทั้งหลาย จะต้องมีวิธีปกป้องพระเจ้าจิตราช ที่กำลังสำราญอยู่กับพระนางตัณหา พระนางราคะ มิเป็นอันปกครองบ้านเมือง จึงทำให้มีผู้คิดกบฏ ทรยศขึ้นมา

จำนวน 3 แผ่น  

A061 ธรรมชาตินอกกายในกาย















วิถีทางในการฝึกธรรมะ ฝึกปฏิบัติธรรม เขาไม่เน้นหนักไปทางกาย โดยวิถีพุทธ พระพุทธเจ้าให้เน้นหนักไปทางฝึกใจ อันดับแรกก็คือการเตรียมใจ ปรับใจ ประคับประคองใจ เมื่อเตรียมใจปรับใจเรียบร้อยแล้ว เราก็เริ่มที่จะค้นหา ค้นหาสิ่งที่เป็นที่พึ่งแก่ใจนี้ได้ สิ่งที่ไม่เป็นข้าศึกแก่ใจนี้ ไม่ใช่ค้นหาที่พึ่งอย่างเดียว ต้องค้นหาข้าศึกของใจด้วย มันถึงจะตรงกับคำสอนในอริยสัจสี่ รู้เหตุอย่างเดียวไม่ได้ ต้องรู้ผลด้วย รู้ผลอย่างเดียวไม่ได้ต้องรู้เหตุด้วย

จำนวน 1 แผ่น  

A060 ธรรมชาติที่ต้องรู้ก่อนฝึกมหาสติฯ















กรรมฐานที่ใช้กำราบจริตทั้ง 6 กรรมฐานกลางก็คือมหาสติปัฏฐานสี่ เป็นกรรมฐานกลางที่กำราบโรคทั้ง 6 ทุกโรคสามารถกำราบได้นั่นก็คือ กายานุปัสสนาสติปัฎฐาน เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน ธรรมนุปัสสนาสติปัฏฐาน ตัวอย่างเช่น อานาปานสติ คนเป็นโรคทั้ง 6 สามารถใช้ ได้……..

จำนวน 1 แผ่น  

A059 ทำวัตรเย็น แปล















1. โย โส นะโมตัสสะ ฯ
2. พุทธานุสสติ
3. พุทธาภิคีติง
4. ธัมมานุสสติ
5. ธัมมาภิคีติง
6. สังฆานุสตติ
7. สังฆาภิคีติง
8. อตีตะปัจจะเวกขณะ
9. ปัพพชิตะอภิณหะปัจจเวก ฯ
10. นะโม เม สัพพะพุทธา
11. เตสัง สัจเจ นะ
12. ขันธะปริตร
13. อะภะยาปะริตตัง
14. โพชฌังโคปริตร
15. เทวะตาอุยโยชะนะ ฯ ท้ายบท
16. กรวดน้ำอิมินา
17. แผ่เมตตา

จำนวน 1 แผ่น 

A058 ทำวัตรเช้า แปล















1. โย โส นะโมตัสสะ ฯ
2. พุทธา ธัมมา สังฆาภิถุติง
3. ระตะนัตตะยัป ฯ
4. ปัจจะเวกขณะ ฯ
5. เจริญกายคตานุสสติ ฯ
6. บทพิจารณาสังขาร
7. อภิณหะปัจจะเวกขณะ ฯ
8. นมัสการพระอรหันต์ 8ทิศ
9. มงคลจักรวาล 8ทิศ
10.พระสะหัสสะนัย
11.ปาฏิโมกสังวร
12.สัพพะปัตติทานะคาถา
13. แผ่เมตตา

จำนวน 1 แผ่น  

A057 ความอยาก 2 อย่าง















ความอยากมัน นำพาเราไปทำดี เพราะเราอยากได้ดี เราเข้ามาบวชเพื่อมาฝึกอยาก เพื่อมาหยุดอยาก หรือบรรเทาอยาก และเปลี่ยนความอยากอัปรีย์ ให้เป็นความอยากดี ด้วยมีปัญญาควบคุมความอยาก แล้ววิถีแห่งการเกิดปัญญาควบคุมการอยาก นั้นก็คือ การทำงานอย่างมีสติ รู้เนื้อรู้ตัว

จำนวน 1 แผ่น 

A056 ขันธมาร















ประโยชน์ของขันธมาร มันจะทำให้จิตวิญญาณของผู้ฝึกได้พัฒนา มันจะทำให้ผู้ฝึก จะยืน เดิน นั่ง นอน จะเป็นผู้มีระเบียบ เมื่อใดที่ท่านมีสมาธิ ท่านก็จะปรากฎธรรมะ หู ตา สมอง จะสามารถสัมผัส และซึมซาบ ได้แม้กระทั่งเสียงร้องของใบไม้ที่มันต้องการน้ำ จากความเอื้ออาทร ในหัวใจที่ท่านมีอยู่

จำนวน 1 แผ่น